สามทหารเสือ "พระนเรศวร"
เมื่อ 3 ปีที่แล้วพ่อผมเคยได้พาไปหาผู้รู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยท่านหนึ่ง
ผมได้ไปฟังเรื่องที่น่าสนใจจากท่านผู้นี้มา ผมขอไม่เอ่ยชื่อท่านแล้วกันนะครับ
เรื่องนี้เกี่ยวกับทหารเอกคนสำคัญของพระนเรศวร ซึ่งถ้าใครเคยดูหนังพระนเรศวรมหาราช
คงชื่นชอบในตัวของทหารเอกผู้นี้พอสมควรครับ
“พระราชมนู”
ตามประวัติศาสตร์จริงๆแล้วท่านเป็นคนอ่างทองครับ
(ในหนังผมเข้าใจว่าท่านมุ้ยสร้างบทขึ้นมาเพื่อให้น่าสนใจครับ)
โดยท่านเป็นลูกชายของช่างตีดาบผู้หนึ่ง
ท่านเริ่มรับราชการกับพระนเรศวรเมื่อคราวที่พระนเรศวรรับสมัครทหารที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อรบป้องกันเมืองครับ
โดยกล่าวไว้ว่า ในตอนนั้นจะปิดรับสมัครอยู่แล้วกลับมีคนเข้ามาพร้อมกัน 3 คน โดยคนแรกพระศรีถมอรัตน์เป็นทหารแตกทัพสมัย ตาของพระนเรศวร
(พระมหาจักรพรรดิ) เข้ามาทูลขอพระนเรศวรว่า ข้าขอทดสอบด้วยการสู้กับทหาร 500 นายโดยให้ 500 นายนี้ใช้ดาบจริง
ข้าพเจ้าขอใช้ดาบไม้เท่านั้น ท่านพระศรีถมอรัตน์ผู้นี้กลับสู้ชนะทหารทั้ง 500 คนได้ แต่กลับไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อย ส่วนคนที่ 2 พระยาชัยบุรีซึ่งเป็นเพื่อนกับพระศรีถมอรัตน์ที่ชอบคุยข่มกัน เลยบอกว่า ข้าขอทหาร 1000 คน โดยใช้เงื่อนไขเดียวกัน คือ 1000 คนใช้ดาบจริง ข้าขอแค่ดาบไม้ก็พอ
และพระยาชัยบุรีก็สามารถเอาชนะทหารทั้ง 1000 คนได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บเช่นกัน
ส่วนคนที่ 3 พระเอกของเรา พระราชมนู จึงบอกว่า ข้าพเจ้าไม่ขอ 1000 คนหรือ 500
คนดอก ข้าพเจ้าขอแค่ 2 คนก็พอ คือคนที่ทดสอบ 2 คนแรกนั่นแหละ โดยให้สองคนนั้นใช้ดาบจริง
ส่วนข้าก็ขอใช้ดาบจริงเช่นกัน ปรากฏว่า
พระราชมนูไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อยเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้ผลแพ้ชนะ พระเอกาทศรส
จึงกล่าวกับพระนเรศวรว่า ข้าขอพระศรีถมอรัตน์เป็นผู้คุ้มกันข้าพเจ้าได้หรือไม่ท่านพี่
พระนเรศวรก็ทรงอนุญาต พร้อมกับบอกว่า พวกเจ้าเป็นทหารหนีทัพสมัยตาของข้า
เจ้าจงทำคุณชดใช้ด้วยเทอญ
นี่แหละครับตำนานของ 3 ทหารเสือที่แข็งแกร่งที่สุดของยุคพระนเรศวรหลังจากนั้นสามคนนี้ก็กลายเป็นกำลังสำคัญให้กับพระนเรศวรเรื่อยมา
นี่คือเกร็ดประวัติศาสตร์ไทยอีกเกร็ดหนึ่งครับ ข้อมูลอาจจะจริงหรือเท็จก็แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะพิจารณาครับ
ผมก็ขอจบคอลัมน์นี้ไว้เพียงเท่านี้ครับขอบคุณครับ
ติดตามคอลัมน์เกล็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ กับ นายณัฐ
ได้ที่ Blog นะครับ
ถ้ามีร้านอร่อยๆที่เที่ยวที่ดี ก็มาแนะนำกันได้นะครับ เดี๋ยวผมจะตามไปชิมไปเที่ยวเก็บข้อมูลและรูปภาพมาฝากกันนะครับ แล้วก็อย่าลืมติดตาม blog นี้ด้วยนะครับ:) ส่งอีเมลล์แนะนำมาได้ที่ sukhothaiblogger@gmail.com
เว็บไซต์ท่องเที่ยวสุโขทัยครับ www.sukhothaitravel.com